วันพุธ ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 ( ครั้งที่ 5 )
คณิตศาสตร์อยู่ในชีวิตประจำวัน สามารถจัดประสบการณ์ได้ทุกวันและทุกเวลา
1.ความรู้เชิงคณิตศาสตร์
ความรู้เชิงคณิตศาสตร์มี 4 ประเภท
1) ความรู้ทางกายภาพ (Physical knowledge)
2) ความรู้ทางสังคม (Social knowledge)
3) ความรู้เชิงตรรกศาสตร์คณิตศาสตร์ (Logical-mathmatic knowledge)
4) ความรู้เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic knowledge)
1) ความรู้ทางกายภาพ (Physical knowledge)
เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกตสิ่งต่างๆด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัส เช่น สี รูปร่างลักษณะ ขนาด
2) ความรู้ทางสังคม (Social knowledge)
เป็นความรู้ที่ได้รับจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เป็นสิ่งที่เราได้รับจากการเรียนรู้ เช่น
หนึ่งสัปดาห์มี 7 วัน
หนึ่งเดือนมี 28 29 30 หรือ 31 วัน
หนึ่งปีมี 12 เดือน
3) ความรู้เชิงตรรกศาสตร์คณิตศาสตร์ (Logical-mathmatic knowledge)
การเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆจากการสังเกต สำรวจ และทดลองการะทำสิ่งต่างๆ เพื่อจัดระบบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น เช่น การนับจำนวนสิ่งของกลุ่มหนึ่งและนับได้จำนวนทั้งหมดเท่ากับสี่ ซึ่งจำนวนสี่เป็นค่าของจำนวนสิ่งของทั้งหมดในกลุ่ม หากแยกออกจากกลุ่มจะไม่ได้มีความหมายเท่ากับจำนวนสี่
4) ความรู้เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic knowledge)
ความรู้เกี่ยวกับวิธีการแสดงสิ่งที่รู้ด้วยสัญลักษณ์ อาศัยการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งนั้นอย่างชัดเจน สามารถนำสัญลักษณ์มาแทนได้
2.สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 : การวัด
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
สาระที่ 4 : พีชคณิต
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
- มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
➣ จำนวน
➣ การรวมและการแยกกลุ่ม
จำนวน
↬ การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
↬ การอ่านตัวเลขฮินดูอาบิก และตัวเลขไทย
↬ การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
↬ การเปรียบเทียบจำนวน
↬ การเรียงลำดับจำนวน
การรรวมและการแยกกลุ่ม
↪ ความหมายของการรวม
↪ การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
↪ ความหมายของการแยก
↪ การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10
สาระที่ 2 : การวัด
- มาตรฐาน ค.บ. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
➣ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
➣ เงิน ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร
➣ เวลา
ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
➧ การเปรียบเทียบ / การวัด / การเรียงลำดับความยาว
➧ การเปรียบเทียบ / การชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
➧ การเปรียบเทียบปริมาตร / การตวง
เวลา
⇸ ช่วงเวลาในแต่ละวัน
⇸ ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน
เพลง : ซ้าย - ขวา
ยืนให้ตัวตรง ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ
เพลง : นกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบๆ นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูง บินล่องลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว
การประเมิน
- ตนเอง ตอบคำถามบ้างเป็นบางครั้ง มีสมาธิ ค่อนข้างเข้าใจเนื้อหาที่เรียน
- อาจารย์ สอนเนื้อหาอย่างเข้าใจ
- สภาพแวดล้อม แสงสว่าง เหมาะแก่การเรียน