วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

วันพุธ ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2560  ( ครั้งที่ 4 )





ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์

1.ความหมายของคณิตศาสตร์
2.ความสำคัญของคณิตศาสตร์
3.ประโยชน์ของคณิตศาสตร์
4.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์                  


                                                   1.ความหมายของคณิตศาสตร์
                 
               คณิต หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การนับ การคำนวณ การประมาณ มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เด็กใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายจากความคิดของตน แล้วค่อยๆพัฒนาถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง


                                                    2.ความสำคัญของคณิตศาสตร์
                
                คณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นการวิชาที่เกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ฝึกการคิดอย่างมีระบบและวิธีการ นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน


                                                    3.ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ 
                             
                ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คณิตศาสตร์ว่าด้วยนามธรรม อาศัยสัญลักษณ์ประดิษฐ์ขึ้นมาแทนนามธรรม ภาษาคณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู้ความเข้าใจโลก       


                                                    4.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์            

                  กระบวนการทางความคิดและการพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ

1)การนับ (Counting)

2)ตัวเลข (Number)



3)การจับคู่ (Matching)



4)การจัดประเภท (Classification)



5)การเปรียบเทียบ (Comparing)



6)การจัดลำดับ (Ordering)



7)รูปทรงหรือเนื้อที่ (Shape and Space)



8)การวัด (Measurement)



9)เซต (Set)



10)เศษส่วน (Fraction)



11)การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)



12)การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)



-ภาษาทางคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่ทำให้พฤติกรรมของเด็กมีการเปลี่ยนแปลง
-คณิตศาสตร์อยู่ในชีวิตประจำวันของคนเรา
-การสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กควรสอนจากง่ายไปยาก สอนจากรูปธรรมให้กลายเป็นนามธรรม


การประเมิน


- ตนเอง  ช่วงเรียนเนื้อหาจะมีเบื่อบ้างเล็กน้อย แต่พอได้ตอบคำถาม ได้ใช้ความคิด ก็สนุก ไม่เบื่อ ชอบช่วงที่ร้องเพลง ทำให้คลายเครียดในเนื้อหาการเรียน

- อาจารย์ มีการกระตุ้นให้นักศึกษาได้ใช้ความคิด กระตุ้นให้นักศึกษาสนใจเรียน

- สภาพแวดล้อม เย็นสบาย เหมาะแก่การเรียน














                                      

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

วันพุธ ที่ 18 มกราคม พ.ศ.2560 ( ครั้งที่ 3 )




                       * ไม่ได้เข้าเรียน อ้างอิงข้อมูลจาก นางสาวณัชชา เศวตทวี *

          การอนุรักษ์ (Conservation) สื่อจำเป็นต้องเป็นรูปธรรม เด็กจะมองเห็นภาพมากกว่าที่เป็นรูปสื่อเพียงอย่างเดียว เช่น โดยการนับ , จับคู่ 1 ต่อ 1 , เปรียบเทียบรูปทรง , เรียงลำดับ , จับกลุ่ม




สื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



เจอโรม บรูเนอร์ (Jerome Bruner)  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาแบ่งเป็น 3 ขั้น ใหญ่ๆ คือ

1.ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) ใช้ประสาทสัมผัสรับรู้โดยผ่านการกระทำ

2.ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) สร้างมโนภาพในใจได้

3.ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

เลฟ ไวก็อตสกี (Lev Vygotsky) "เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสภาพแวดล้อมของเขาและจากความร่วมมือของเพื่อนรุ่นเดียวกันเป็นการสนับสนุน และเพิ่มพัฒนาการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในหรือที่เรียกว่า เจตคติ (Internalize)
- เด็กต้องการความช่วยเหลือของผู้ที่มีสมรรถนะ (Competency)
- "นั่งร้าน" (Scaffold) การสนับสนุนของผู้ใหญ่โดยให้การช่วยเหลือกับเด็ก
-ต้องมีความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย


                                                     เพลงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย





                                                              เพลงขวด 5 ใบ

                                                   ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
                                              เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
                                              คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง
                                (ลดจำนวนขวด ลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
                                              ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง

                                                                           


                                                               เพลงเท่ากัน - ไม่เท่ากัน

                                                                ช้างมีสี่ขา     ม้ามีสี่ขา
                                                           คนเรานั้นหนา    สองขาต่างกัน
                                                           ช้างม้า มีขา       สี่ขา เท่ากัน
                                                           แต่กับคนนั้น      ไม่เท่ากันเอย
                                 

                                                                               


                                                                      เพลงบวก - ลบ
                       
                                            บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ     ครูให้อีกสามใบนะเธอ
                                         มารวมกันนับดีดีซิเออ       ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
                                         บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ      หายไปสามใบนะเธอ
                                         ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ        ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ
                                                   



















วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560

วันพุธ ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560 ( ครั้งที่ 2 )




     การเล่นของเด็กถือว่าเป็นวิธีการเรียนรู้ และ วิธีการเรียนรู้ของเด็ก คือ การที่เด็กลงมือปฏิบัติด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างอิสระ สามารถเลือกและตัดสินใจได้ด้วยตัวของเด็กเอง

     การที่เด็กชอบเล่น ชอบเคลื่อนไหวไปที่ต่างๆ ไม่อยู่นิ่ง เนื่องจากเป็น " พัฒนาการ "





     ประโยชน์ของพัฒนาการ พฤติกรรมของเด็กเป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เรารู้ถึงความสามารถของเด็ก , แสดงถึงความสามารถของเด็ก , แสดงถึงการเปลี่ยนแปลง , ผู้สอนสามารถจัดประสบการณ์ให้เหมาะสม ส่งเสริม และแก้ไข



      เด็กแรกเกิด ถึง 2 ปี พัฒนาการของเด็กจะอยู่ในขั้นใช้ประสาทสัมผัสเป็นอย่างมาก เป็นการทำงานของสมอง เก็บข้อมูลต่างๆ หรือเรียกว่า การซึมซับ นั่นเอง


การประเมิน


- ตนเอง มีอาการง่วงบ้างบางครั้ง เนื่องจากเนื้อหาทฤษฎีที่เยอะเกินไป

- อาจารย์ ให้นักศึกษามีส่วนร่วมกับการตอบคำถามในชั้นเรียน

- สภาพแวดล้อม เย็นสบาย  แต่กระดานมีเนื้อที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
     

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560  ( ครั้งที่1 )



          สัปดาห์นี้เป็นครั้งแรกของการเรียนการสอน อาจารย์ให้เขียนสิ่งที่คาดหวังในรายวิชาที่จะเรียน และออกความคิดเห็นคำว่า ' พัฒนาการ ' ก็ได้ความหมายว่า " พัฒนาการ คือ ความสามารถของเด็กที่เปลี่ยนแปลงไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องโดยมีอายุเป็นตัวกำกับ "



วิธีการเรียนรู้ กับ การเรียนรู้ ต่างกัน

วิธีการเรียนรู้ คือ การลงมือปฎิบัติด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
การเรียนรู้ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลง





เมื่อรวมกันจีงมีความหมายว่า วิธีการเรียนรู้ทำให้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5และเมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้จะทำให้พฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนแปลงไปตามขั้นตอน
           ดังนั้นครูจึงต้องออกแบบแผนการสอนให้สอดคล้องกัน


การประเมิน


- ตนเอง กล้าตอบคำถามในสิ่งที่ตนเองคิดเห็น ไม่เครียด ผ่อนคลาย

- อาจารย์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาตอบคำถามได้ทุกคน ไม่มีผิด ไม่ถูก เมื่อนักศึกษาตอบแล้ว อาจารย์จะมาสรุปสิ่งที่ถูกต้องให้ฟังอีกที

- สภาพแวดล้อม เย็นสบาย แสงสว่างพอเพียง แต่ห้องเป็นกระจกใสทำให้ใครเดินผ่านไปผ่านเดินมา ทำให้ไม่ค่อยมีสมาธิเรียน