วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สรุปตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



               เรื่อง การเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ (เรียนรู้การนับจำนวน) 

                        ชั้นอนุบาล 1/1 โรงเรียนอนุบาลทองขาว



            เป็นการสอนเด็กเรื่องการนับจำนวน โดยให้เด็กออกมาทีละคน นับทีละลูกพร้อมกันกับเพื่อนๆ จากนั้นแทนค่าด้วยเลขฮินดูอารบิก นอกจากเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์แล้ว เด็กยังได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการหยิบลูกปิงปองไปใส่ในแผงไข่อีกด้วย

สรุปงานวิจัยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


                   เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
                     
                                       โดย....คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว


ความมุ่งหมายของการวิจัย

               
          เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ความสำคัญของการวิจัย


          การวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางของการใช้นวัตกรรม การเรียนการสอนด้วยกระบวนวิธีของศิลปะรูปแบบต่างๆ มาประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยซึ่งผลการวิจัยจะเป็นแนวทางให้กับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ได้พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและเกิดความหลากหลายในวิชาการศึกษาสำหรับครูมากขึ้น

ขอบเขตการวิจัย


     ประชากรวิจัย
          ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศกรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 10 ห้องเรียน
     กลุ่มตัวอย่างการวิจัย
           กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้จากการจับฉลากมา1 ห้องเรียนและได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยคัดเลือกเด็กที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย


           1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
           2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.86

วิธีดำเนินการวิจัย


      การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองมีลำดับขั้นตอนดังนี้
            1. ขอความร่วมมือจากผู้บริหารโรงเรียนในการทำวิจัย
            2. ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มเด็กนักเรียน ชาย – หญิง ชั้นอนุบาลปีที่ 3 อายุระหว่าง 5 – 6 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต โดยการจับฉลากมา 1ห้องเรียนจาก 10 ห้อง และใช้แบบทดสอบพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยเลือกนักเรียนที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้าย เป็นกลุ่มทดลอง
            3. ในการวิจัย ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ระหว่างวันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2550 ถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2550 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน จัดกิจกรรมใน วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี ในช่วงเวลา 09.00 – 09.45 น.วันละ 45 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
            4. ทดสอบเด็กกลุ่มทดลองก่อนการทดลองด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
             5. ผู้วิจัยทำหน้าที่สอนเด็กกลุ่มทดลอง ด้วยแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
              6. หลังการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบเด็กกลุ่มทดลองด้วยแบบทดสอบ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ชุดเดียวกันที่ได้ทดสอบก่อนการทดลองอีกครั้ง
               7. วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และสรุปผลการทดลอง

สรุปผลการวิจัย


               1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ 1 – 30 ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน1 – 10 อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น
                2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

สรุปบทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




                  เรื่อง การสอนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากวัสดุธรรมชาติ
                 
                          บทความโดย....ดร.นิติธร ปิลวาสน์


             หมายถึง การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้าน การสังเกต เปรียบเทียบ การจัดกลุ่ม การเรียงลำดับ การนับ จากวัสดุธรรมชาติที่ได้จากพืชและสัตว์ เช่น เมล็ดธัญพืชต่างๆ เปลือกข้าวโพด ใบมะพร้าว ก้านกล้วย ใบไม้ ดอกไม้ และวัสดุธรรมชาติที่ได้จากสัตว์ เช่น เปลือกหอย เกล็ดปลา ซากกุ้ง-ปู ที่นำมาจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น การวาดภาพระบายสี การปั้น การร้อย การพิมพ์ การประดิษฐ์ กิจกรรมเหล่านี้นอกจากจะช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานแล้ว สื่อจากธรรมชาติที่มีลักษณะแตกต่างกันในเรื่อง รูปร่าง , สี , ขนาด , น้ำหนัก , พื้นผิว เป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ทั้งทักษะการสังเกต, เปรียบเทียบ, การนับ, การจัดกลุ่ม, การจัดลำดับ, การเรียนรู้ค่าและจำนวน

                     

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 (ครั้งที่ 15)




                      อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอสื่อคณิตศาสตร์ที่ตนเองสนใจ โดยกลุ่มของข้าพเจ้าทำเกมบิงโกเรขาคณิต 



     

                    จากนั้นทุกๆกลุ่มก็ออกไปนำเสนอสื่อของกลุ่มตนเอง ว่าสื่อนั้นเล่นอย่างไร เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อย่างไร 



                       เนื่องจากเป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอน อาจารย์สรุปการเรียนทั้งหมดในภาคเรียนที่ผ่านมา และปิดครอสการเรียนการสอน


การประเมิน


-ตนเอง ให้ความร่วมมือในกลุ่มของตนเอง และตั้งใจฟังกลุ่มอื่นนำเสนอ

-อาจารย์ ให้คำชี้แนะแก่นักศึกษาทุกๆคน  

-สภาพแวดล้อม ห้องกว้างขวางเหมาะแก่การเรียน อากาศเย็นสบาย

วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560 (ครั้งที่ 14)




        วันนี้แต่ละกลุ่มออกมาสาธิตการสอนตามที่เขียนแผนการสอน วันจันทร์-วันศุกร์ โดยให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


-วันจันทร์ กลุ่มกระเป๋า สอนเรื่อง ชนิดของกระเป๋า




-วันอังคาร กลุ่มบ้าน สอนเรื่อง ลักษณะของบ้าน




-วันพุธ กลุ่มยานพาหนะ สอนเรื่อง การดูแลรักษายานพาหนะ




-วันพฤหัสบดี กลุ่มกระต่าย สอนเรื่อง ประโยชน์ของกระต่าย





-วันศุกร์  กลุ่มเสื้อ สอนเรื่อง ข้อพึงระวังของเสื้อ




การประเมินผล


-ตนเอง เป็นการฝึกเขียนแผนการสอน และดูตัวอย่างการสอนจริงๆจากแผนการสอนที่เขียน

-สภาพแวดล้อม ใช้ห้องปฏิบัติการปฐมวัย มีพื้นที่กว้างขวาง เหมาะแก่การเรียนการสอน และปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ

-อาจารย์ ให้คำแนะนำแก่ทุกๆกลุ่ม เพื่อความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้น







วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560 (ครั้งที่ 13)



                        *ไม่ได้เข้าเรียน อ้างอิงข้อมูลจาก นางสาวสุวนันต์ เพ็ชรักษ์*

        

           วันนี้ครูเก็บตกคนที่ยังไม่ได้นำเสนองานวิจัย บทความ วีดิโอในการสอน และสื่อการสอนของแต่ละคนที่เป็นเกมการศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และตอบคำถามลงในกระดาษเกี่ยวกับเรื่องการนับ การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่ การแยกจำนวนจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่ และการเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า จากนั้นครูก็ดูวิธีในการสอนของแต่ละคน โดยแนะนำ อธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น

วันพุธ ที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560 (ครั้งที่ 12)




             เกมการศึกษา หมายถึง กิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก แต่เน้นทางสติปัญญา มีกฎกติกาง่ายๆ เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยและความสนุกสนานจากการเล่น มีกระบวนการในการเล่นจากสื่อตามชนิดของเกมประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน เด็กสามารถเล่นคนเดียวและเล่นเป็นกลุ่มได้ เกมการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัย 3-5ขวบ เช่น เกมจับคู่ แยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ วางภาพต่อปลาย (Domino) เกมศึกษารายละเอียดของภาพ (Lotto) ภาพตัดต่อ (Jig-saw puzzle) เป็นต้น



เกมภาพตัดต่อ




เกมจับคู่




เกมLotto


             และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งงานกันทำเกมการศึกษา จำนวนคนต่องาน คือ 1 คน , 2 คน , 3 คน แล้วแต่งานยากหรืองานง่าย



การประเมิน


-ตนเอง สนใจ ตั้งใจเรียน และสนใจกับเกมการศึกษาแปลกใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

-อาจารย์ อธิบายงานแต่ละอย่างได้อย่างละเอียด และมีรูปเกมการศึกษามาให้ดูเป็นตัวอย่างในการทำเกมการศึกษามากมาย

-สภาพแวดล้อม บรรยากาศเย็นสบาย เหมาะแก่การเรียน

วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2560

วันพุธ ที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2560 (ครั้งที่ 11)



             เป้าหมายหลักสูตรปฐมวัย คือ แนวทางในการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เป็นเด็กที่มีประสิทธิภาพ

             สาระที่ควรเรียนรู้ 
1) ประสบการณ์สำคัญ
2) สาระที่ควรเรียนรู้

             สาระที่ควรเรียนรู้
1) ธรรมชาติรอบตัว
2) บุคคล,สถานที่
3) สิ่งต่างๆรอบตัว
4) ตัวฉัน
                  โดยหลักของการเลือกสาระที่ควรเรียนรู้ คือ 1) เลือกเรื่องที่เด็กสนใจ 2) ผลกระทบ 3) เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก

             ประสบการณ์สำคัญ
1) ด้านร่างกาย 
     -กล้ามเนื้อมัดเล็ก
     -กล้ามเนื้อมัดใหญ่
2) ด้านอารมณ์
     -แสดงออกทางความรู้สึก
     -รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น
3) ด้านสังคม
     -ทำกิจกรรมร่วมกัน
     -ช่วยเหลือตนเอง
4) ด้านสติปัญญา
     -ภาษา
     -การคิด

             กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม
1) กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
     ➤ส่งเสริมด้านร่างกาย
2) กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
     ➤ส่งเสริมจินตนาการ , แบ่งปันอุปกรณ์ , กล้ามเนื้อมัดเล็กกับตา
3) กิจกรรมเสริมประสบการณ์
     ➤ส่งเสริมด้านสติปัญญา
4) กิจกรรมกลางแจ้ง
     ➤ส่งเสริมด้านร่างกาย , สุขอนามัย
5) กิจกรรมเสรี
     ➤ส่งเสริมการเล่นบทบาทสมมติ(ด้านสังคม)
6) กิจกรรมเกมการศึกษา
     ➤ส่งเสริมด้านสติปัญญา


การประเมิน


-ตนเอง  ตั้งใจเรียนและแสดงความคิดเห็น

-อาจารย์ ตอบคำถามที่นักศึกษาสงสัยได้อย่างเข้าใจ

-สภาพแวดล้อม อากาศเย็นสบาย เหมาะแก่การเรียนการสอน




วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันพุธ ที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2560 ( ครั้งที่10 )




              สัปดาห์นี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มทำแผ่นชาร์ตวันในหนึ่งเดือน โดยอาจารย์ได้เตรียมอุปกรณ์ต่างๆให้อย่างครบถ้วน ทำให้นักศึกษาสะดวกต่อการทำแผ่นชาร์ต เพื่อนๆทุกๆคนในกลุ่มให้ความช่วยเหลือกันอย่างดี แบ่งหน้าที่กันว่าให้แต่ละคนทำอะไรบ้าง เพื่อให้การทำงานกลุ่มเสร็จโดยเร็ว










วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันพุธ ที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2560 ( ครั้งที่9 )



     
        อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ1แผ่น เพื่อให้วาดรูปทรงเลขาคณิตที่ตนเองชอบ จากนั้นก็แจกไม้และดินน้ำมัน โดยใช้ไม้ทำเป็นรูปที่ตนเองวาดไว้และใช้ดินน้ำมันเป็นตัวเชื่อมมุม





        จากนั้นให้นำรูปที่ตนเองทำไปประกอบรวมกับเพื่อนอีก1คน โดยให้เกิดรูปทรงใหม่ เมื่อเสร็จแล้วก็จะนำไปวางหน้าห้อง เพื่อช่วยกันวิเคราะห์ตามแบบต่างๆ





          อีก1กิจกรรม คือ งานกลุ่มที่แต่ละกลุ่มไปทำมานั้น ให้นำมาติดไว้ เพื่อให้อาจารย์ช่วยชี้แนะสิ่งต่างๆ เช่น ควรแก้ไขตรงไหน อย่างไรบ้าง





การประเมิน


-ตนเอง  ชอบกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติ มากกว่าเนื้อหาเยอะๆ

-อาจารย์  อาจารย์ใส่ใจ ให้คำปรึกษาได้อย่างเข้าใจ

-สภาพแวดล้อม  พร้อมสำหรับการเรียน มีพื้นที่ให้ทำกิจกรรมที่ต้องปฎิบัติ

วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันพุธ ที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2560 ( ครั้งที่ 8 )







           การคาดคะเนลูกอมในขวดโหลว่ามีทั้งหมดกี่เม็ด ทำให้ได้ฝึกการใช้ความคิดแบบวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ซึ่งสอดคล้องกับสาระที่4 มาตรฐาน ค.ป. 4.1


           การนับจำนวนลูกอมและใช้ตัวเลขกำกับ ซึ่งสอดคล้องกับสาระที่1 มาตรฐาน ค.ป. 1.1


                                                          


           
           เกณฑ์ในการแบ่งจำนวน จะใช้เกณฑ์ลูกอมที่มีสีเหลืองกับลูกอมที่ไม่มีสีเหลือง ให้สังเกตและนับว่าจำนวนไหนมากกว่ากัน



            และวันนี้ได้ร่วมกันออกแบบหน่วยการเรียนรู้ของกลุ่มตนเอง โดยกำหนดหัวเรื่องให้สอดคล้องกับตัวเด็กเอง และแบ่งออกเป็นการสอน 5 วัน



การประเมิน


-ตนเอง ตั้งใจเรียน ถึงบางครั้งตอบคำถามไม่ได้ แต่ก็จะพยายามให้มากขึ้น

-อาจารย์ สนใจนักศึกษาเป็นอย่างดี มีข้อสงสัยไปถาม อาจารย์ก็จะอธิบายให้ฟังทุกครั้งอย่างละเอียด 

-สภาพแวดล้อม มีพื้นที่ทำกิจกรรมแบบกลุ่ม อย่างเหมาะสม


วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันพุธ ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 



                                        สื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย






อุปกรณ์

1.ฐานรอง เช่น แผ่นไม้
2.เหล็กเส้นเล็กๆที่ไม่แหลม
3.ฝาขวดน้ำแต่ละสี
4.ปากกาหมึกดำ
5.สติ๊กเกอร์แต่ละสี

วิธีทำ

1.เจาะเหล็กลงไปในแผ่นไม้ให้ครบ10เส้น
2.เขียนตัวเลขกำกับ 1-10 และติดสติ๊กเกอร์ตามสีที่เรากำหนด
3.เจาะรูลงบนฝาขวดน้ำ
4.นำไปทดลองใช้จริง


พัฒนาการของเด็ก

1.ได้เรียนรู้เรื่องจำนวน และใส่ฝาขวดน้ำตามจำนวนที่กำหนดไว้ได้
2.ได้สังเกตและแยกแยะสี


วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วันพุธ ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 (ครั้งที่7)




สื่อ นวัตกรรมการสอน

             "สื่อที่ไม่พัง คือ สื่อที่ไม่มีคุณภาพ" หมายความว่า ถ้าสื่อชิ้นใดที่ได้เล่นหรือได้จับบ่อยๆ สภาพก็จะชำรุด แต่ถ้าสื่อที่สวยงาม คงสภาพอยู่เหมือนเดิม นั่นคือสื่อที่เด็กไม่ได้จับเล่น และไม่น่าสนใจ







แผนการจัดการเรียนรู้

              ในการจัดการเรียนรู้ของการศึกษาปฐมวัย จะเขียนแผนการสอนที่แตกต่างกับวิชาอื่นๆ เพราะการศึกษาปฐมวัยจะไม่สอนให้เด็กหัดอ่าน หัดเขียน แต่จะให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่นมากกว่า
         




Project Approach

              "ในหลวง" จะแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ ได้แก่

↣ ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น ครูและเด็กแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน โดยการตั้งคำถาม คือ "ข้าวสามารถทำอาหารอะไรได้บ้าง"
↣ ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา ครูจัดโครงการขึ้นมา ทำให้เด็กเกิดความรู้ ประสบการณ์ใหม่ๆ โดยครูและเด็กร่วมกันทำ "ไข่พระอาทิตย์" 
↣ ระยะที่ 3 ระยะสรุป ครูจัดให้เด็กมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประเมินผลสะท้อนกลับ

               การทำไข่พระอาทิตย์ นอกจากเด็กจะได้เรียนรู้วิธีการทำไข่พระอาทิตย์แล้ว ยังใช้หลักหลักการ STEM เข้ามาช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้

➤ Science  (วิทยาศาสตร์)
➤ Technology  (เทคโนโลยี)
➤ Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
➤ Mathematics (คณิตศาสตร์)







การประเมิน

- ตนเอง ให้ความสนใจที่พี่ๆนำเสนอ ทำให้ได้ความรู้เพิ่มมากยิ่งขึ้น

-อาจารย์ ช่วยสรุปการนำเสนอให้อีกครั้ง เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้น

-สภาพแวดล้อม พี่ๆชั้นปีที่ 5 จัดการนำเสนอได้น่าสนใจ สวยงาม เป็นระเบียบ

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วันพุธ ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 ( ครั้งที่ 6 )




                                                         สาระที่ 3 : เรขาคณิต

        - มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
        - มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

                 ◙ ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง

          ▶ การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งของนั้นๆ

               
                  ◙ รูปเรขาคณิตสามมิติ และรูปเรขาคณิตสองมิติ

          ▶ ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
          ▶ รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
          ▶ การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
          ▶ การสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ



                                                          สาระที่ 4 : พีชคณิต

        - มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจรูปแบบ และความสัมพันธ์






                                                           สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

       - มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ

                       ✤ การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ

           ↷ การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย


                                                             สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

                       ↣ การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


การประเมิน


- ตนเอง ตอบคำถามได้บางคำถาม แต่จะพยายามตอบให้ได้มากๆ

- อาจารย์ ยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้น

- สภาพแวดล้อม เงียบสงบ เหมาะแก่การเรียน






                                                  
         

วันพุธ ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 ( ครั้งที่ 5 )






               คณิตศาสตร์อยู่ในชีวิตประจำวัน สามารถจัดประสบการณ์ได้ทุกวันและทุกเวลา




1.ความรู้เชิงคณิตศาสตร์

                      ความรู้เชิงคณิตศาสตร์มี 4 ประเภท
   1) ความรู้ทางกายภาพ (Physical knowledge)
   2) ความรู้ทางสังคม (Social knowledge)
   3) ความรู้เชิงตรรกศาสตร์คณิตศาสตร์ (Logical-mathmatic knowledge)
   4) ความรู้เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic knowledge)



                                1) ความรู้ทางกายภาพ (Physical knowledge)

               เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกตสิ่งต่างๆด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัส เช่น สี รูปร่างลักษณะ ขนาด

                                 2) ความรู้ทางสังคม (Social knowledge)
       
                เป็นความรู้ที่ได้รับจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เป็นสิ่งที่เราได้รับจากการเรียนรู้ เช่น
                         
                                                      หนึ่งสัปดาห์มี 7 วัน
                                                      หนึ่งเดือนมี 28 29 30 หรือ 31 วัน
                                                      หนึ่งปีมี 12 เดือน

                                 3) ความรู้เชิงตรรกศาสตร์คณิตศาสตร์ (Logical-mathmatic knowledge)

                การเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆจากการสังเกต สำรวจ และทดลองการะทำสิ่งต่างๆ เพื่อจัดระบบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น เช่น การนับจำนวนสิ่งของกลุ่มหนึ่งและนับได้จำนวนทั้งหมดเท่ากับสี่ ซึ่งจำนวนสี่เป็นค่าของจำนวนสิ่งของทั้งหมดในกลุ่ม หากแยกออกจากกลุ่มจะไม่ได้มีความหมายเท่ากับจำนวนสี่

                                 4)  ความรู้เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic knowledge)

                 ความรู้เกี่ยวกับวิธีการแสดงสิ่งที่รู้ด้วยสัญลักษณ์ อาศัยการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งนั้นอย่างชัดเจน สามารถนำสัญลักษณ์มาแทนได้



2.สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์

          สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
          สาระที่ 2 : การวัด
          สาระที่ 3 : เรขาคณิต
          สาระที่ 4 : พีชคณิต
          สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
          สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์


                                                       
                                                                    สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
               
      - มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง


                  จำนวน
                 ➣ การรวมและการแยกกลุ่ม

                                                   
                                                                       จำนวน

                              การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
                              การอ่านตัวเลขฮินดูอาบิก และตัวเลขไทย
                              การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
                              การเปรียบเทียบจำนวน
                              การเรียงลำดับจำนวน

                                                                        การรรวมและการแยกกลุ่ม

                              ความหมายของการรวม
                              การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
                              ความหมายของการแยก
                              การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10          


                                                                    สาระที่ 2 : การวัด              

      - มาตรฐาน ค.บ. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา


                  ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
                  เงิน  ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร
                  เวลา


                                                                     ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร

                              การเปรียบเทียบ / การวัด / การเรียงลำดับความยาว
                              การเปรียบเทียบ / การชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
                              การเปรียบเทียบปริมาตร / การตวง    

                                                                 
                                                                     เวลา

                            ช่วงเวลาในแต่ละวัน
                            ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน



                                                      เพลง : ซ้าย - ขวา

                                              ยืนให้ตัวตรง               ก้มหัวลงตบมือแผละ
                                         แขนซ้ายอยู่ไหน             หันตัวไปทางนั้นแหละ

                   

                                                      เพลง : นกกระจิบ

                                              นั่นนก บินมาลิบๆ            นกกระจิบ 1 2 3 4 5
                                         อีกฝูง บินล่องลอยมา           6 7 8 9 10 ตัว

การประเมิน


- ตนเอง ตอบคำถามบ้างเป็นบางครั้ง มีสมาธิ ค่อนข้างเข้าใจเนื้อหาที่เรียน

- อาจารย์ สอนเนื้อหาอย่างเข้าใจ

- สภาพแวดล้อม แสงสว่าง เหมาะแก่การเรียน




วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

วันพุธ ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2560  ( ครั้งที่ 4 )





ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์

1.ความหมายของคณิตศาสตร์
2.ความสำคัญของคณิตศาสตร์
3.ประโยชน์ของคณิตศาสตร์
4.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์                  


                                                   1.ความหมายของคณิตศาสตร์
                 
               คณิต หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การนับ การคำนวณ การประมาณ มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เด็กใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายจากความคิดของตน แล้วค่อยๆพัฒนาถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง


                                                    2.ความสำคัญของคณิตศาสตร์
                
                คณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นการวิชาที่เกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ฝึกการคิดอย่างมีระบบและวิธีการ นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน


                                                    3.ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ 
                             
                ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คณิตศาสตร์ว่าด้วยนามธรรม อาศัยสัญลักษณ์ประดิษฐ์ขึ้นมาแทนนามธรรม ภาษาคณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู้ความเข้าใจโลก       


                                                    4.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์            

                  กระบวนการทางความคิดและการพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ

1)การนับ (Counting)

2)ตัวเลข (Number)



3)การจับคู่ (Matching)



4)การจัดประเภท (Classification)



5)การเปรียบเทียบ (Comparing)



6)การจัดลำดับ (Ordering)



7)รูปทรงหรือเนื้อที่ (Shape and Space)



8)การวัด (Measurement)



9)เซต (Set)



10)เศษส่วน (Fraction)



11)การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)



12)การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)



-ภาษาทางคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่ทำให้พฤติกรรมของเด็กมีการเปลี่ยนแปลง
-คณิตศาสตร์อยู่ในชีวิตประจำวันของคนเรา
-การสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กควรสอนจากง่ายไปยาก สอนจากรูปธรรมให้กลายเป็นนามธรรม


การประเมิน


- ตนเอง  ช่วงเรียนเนื้อหาจะมีเบื่อบ้างเล็กน้อย แต่พอได้ตอบคำถาม ได้ใช้ความคิด ก็สนุก ไม่เบื่อ ชอบช่วงที่ร้องเพลง ทำให้คลายเครียดในเนื้อหาการเรียน

- อาจารย์ มีการกระตุ้นให้นักศึกษาได้ใช้ความคิด กระตุ้นให้นักศึกษาสนใจเรียน

- สภาพแวดล้อม เย็นสบาย เหมาะแก่การเรียน














                                      

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

วันพุธ ที่ 18 มกราคม พ.ศ.2560 ( ครั้งที่ 3 )




                       * ไม่ได้เข้าเรียน อ้างอิงข้อมูลจาก นางสาวณัชชา เศวตทวี *

          การอนุรักษ์ (Conservation) สื่อจำเป็นต้องเป็นรูปธรรม เด็กจะมองเห็นภาพมากกว่าที่เป็นรูปสื่อเพียงอย่างเดียว เช่น โดยการนับ , จับคู่ 1 ต่อ 1 , เปรียบเทียบรูปทรง , เรียงลำดับ , จับกลุ่ม




สื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



เจอโรม บรูเนอร์ (Jerome Bruner)  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาแบ่งเป็น 3 ขั้น ใหญ่ๆ คือ

1.ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) ใช้ประสาทสัมผัสรับรู้โดยผ่านการกระทำ

2.ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) สร้างมโนภาพในใจได้

3.ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

เลฟ ไวก็อตสกี (Lev Vygotsky) "เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสภาพแวดล้อมของเขาและจากความร่วมมือของเพื่อนรุ่นเดียวกันเป็นการสนับสนุน และเพิ่มพัฒนาการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในหรือที่เรียกว่า เจตคติ (Internalize)
- เด็กต้องการความช่วยเหลือของผู้ที่มีสมรรถนะ (Competency)
- "นั่งร้าน" (Scaffold) การสนับสนุนของผู้ใหญ่โดยให้การช่วยเหลือกับเด็ก
-ต้องมีความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย


                                                     เพลงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย





                                                              เพลงขวด 5 ใบ

                                                   ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
                                              เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
                                              คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง
                                (ลดจำนวนขวด ลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
                                              ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง

                                                                           


                                                               เพลงเท่ากัน - ไม่เท่ากัน

                                                                ช้างมีสี่ขา     ม้ามีสี่ขา
                                                           คนเรานั้นหนา    สองขาต่างกัน
                                                           ช้างม้า มีขา       สี่ขา เท่ากัน
                                                           แต่กับคนนั้น      ไม่เท่ากันเอย
                                 

                                                                               


                                                                      เพลงบวก - ลบ
                       
                                            บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ     ครูให้อีกสามใบนะเธอ
                                         มารวมกันนับดีดีซิเออ       ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
                                         บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ      หายไปสามใบนะเธอ
                                         ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ        ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ