วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สรุปตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



               เรื่อง การเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ (เรียนรู้การนับจำนวน) 

                        ชั้นอนุบาล 1/1 โรงเรียนอนุบาลทองขาว



            เป็นการสอนเด็กเรื่องการนับจำนวน โดยให้เด็กออกมาทีละคน นับทีละลูกพร้อมกันกับเพื่อนๆ จากนั้นแทนค่าด้วยเลขฮินดูอารบิก นอกจากเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์แล้ว เด็กยังได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการหยิบลูกปิงปองไปใส่ในแผงไข่อีกด้วย

สรุปงานวิจัยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


                   เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
                     
                                       โดย....คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว


ความมุ่งหมายของการวิจัย

               
          เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ความสำคัญของการวิจัย


          การวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางของการใช้นวัตกรรม การเรียนการสอนด้วยกระบวนวิธีของศิลปะรูปแบบต่างๆ มาประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยซึ่งผลการวิจัยจะเป็นแนวทางให้กับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ได้พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและเกิดความหลากหลายในวิชาการศึกษาสำหรับครูมากขึ้น

ขอบเขตการวิจัย


     ประชากรวิจัย
          ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศกรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 10 ห้องเรียน
     กลุ่มตัวอย่างการวิจัย
           กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้จากการจับฉลากมา1 ห้องเรียนและได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยคัดเลือกเด็กที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย


           1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
           2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.86

วิธีดำเนินการวิจัย


      การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองมีลำดับขั้นตอนดังนี้
            1. ขอความร่วมมือจากผู้บริหารโรงเรียนในการทำวิจัย
            2. ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มเด็กนักเรียน ชาย – หญิง ชั้นอนุบาลปีที่ 3 อายุระหว่าง 5 – 6 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต โดยการจับฉลากมา 1ห้องเรียนจาก 10 ห้อง และใช้แบบทดสอบพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยเลือกนักเรียนที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้าย เป็นกลุ่มทดลอง
            3. ในการวิจัย ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ระหว่างวันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2550 ถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2550 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน จัดกิจกรรมใน วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี ในช่วงเวลา 09.00 – 09.45 น.วันละ 45 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
            4. ทดสอบเด็กกลุ่มทดลองก่อนการทดลองด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
             5. ผู้วิจัยทำหน้าที่สอนเด็กกลุ่มทดลอง ด้วยแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
              6. หลังการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบเด็กกลุ่มทดลองด้วยแบบทดสอบ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ชุดเดียวกันที่ได้ทดสอบก่อนการทดลองอีกครั้ง
               7. วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และสรุปผลการทดลอง

สรุปผลการวิจัย


               1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ 1 – 30 ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน1 – 10 อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น
                2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

สรุปบทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




                  เรื่อง การสอนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากวัสดุธรรมชาติ
                 
                          บทความโดย....ดร.นิติธร ปิลวาสน์


             หมายถึง การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้าน การสังเกต เปรียบเทียบ การจัดกลุ่ม การเรียงลำดับ การนับ จากวัสดุธรรมชาติที่ได้จากพืชและสัตว์ เช่น เมล็ดธัญพืชต่างๆ เปลือกข้าวโพด ใบมะพร้าว ก้านกล้วย ใบไม้ ดอกไม้ และวัสดุธรรมชาติที่ได้จากสัตว์ เช่น เปลือกหอย เกล็ดปลา ซากกุ้ง-ปู ที่นำมาจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น การวาดภาพระบายสี การปั้น การร้อย การพิมพ์ การประดิษฐ์ กิจกรรมเหล่านี้นอกจากจะช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานแล้ว สื่อจากธรรมชาติที่มีลักษณะแตกต่างกันในเรื่อง รูปร่าง , สี , ขนาด , น้ำหนัก , พื้นผิว เป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ทั้งทักษะการสังเกต, เปรียบเทียบ, การนับ, การจัดกลุ่ม, การจัดลำดับ, การเรียนรู้ค่าและจำนวน

                     

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 (ครั้งที่ 15)




                      อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอสื่อคณิตศาสตร์ที่ตนเองสนใจ โดยกลุ่มของข้าพเจ้าทำเกมบิงโกเรขาคณิต 



     

                    จากนั้นทุกๆกลุ่มก็ออกไปนำเสนอสื่อของกลุ่มตนเอง ว่าสื่อนั้นเล่นอย่างไร เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อย่างไร 



                       เนื่องจากเป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอน อาจารย์สรุปการเรียนทั้งหมดในภาคเรียนที่ผ่านมา และปิดครอสการเรียนการสอน


การประเมิน


-ตนเอง ให้ความร่วมมือในกลุ่มของตนเอง และตั้งใจฟังกลุ่มอื่นนำเสนอ

-อาจารย์ ให้คำชี้แนะแก่นักศึกษาทุกๆคน  

-สภาพแวดล้อม ห้องกว้างขวางเหมาะแก่การเรียน อากาศเย็นสบาย

วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560 (ครั้งที่ 14)




        วันนี้แต่ละกลุ่มออกมาสาธิตการสอนตามที่เขียนแผนการสอน วันจันทร์-วันศุกร์ โดยให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


-วันจันทร์ กลุ่มกระเป๋า สอนเรื่อง ชนิดของกระเป๋า




-วันอังคาร กลุ่มบ้าน สอนเรื่อง ลักษณะของบ้าน




-วันพุธ กลุ่มยานพาหนะ สอนเรื่อง การดูแลรักษายานพาหนะ




-วันพฤหัสบดี กลุ่มกระต่าย สอนเรื่อง ประโยชน์ของกระต่าย





-วันศุกร์  กลุ่มเสื้อ สอนเรื่อง ข้อพึงระวังของเสื้อ




การประเมินผล


-ตนเอง เป็นการฝึกเขียนแผนการสอน และดูตัวอย่างการสอนจริงๆจากแผนการสอนที่เขียน

-สภาพแวดล้อม ใช้ห้องปฏิบัติการปฐมวัย มีพื้นที่กว้างขวาง เหมาะแก่การเรียนการสอน และปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ

-อาจารย์ ให้คำแนะนำแก่ทุกๆกลุ่ม เพื่อความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้น







วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560 (ครั้งที่ 13)



                        *ไม่ได้เข้าเรียน อ้างอิงข้อมูลจาก นางสาวสุวนันต์ เพ็ชรักษ์*

        

           วันนี้ครูเก็บตกคนที่ยังไม่ได้นำเสนองานวิจัย บทความ วีดิโอในการสอน และสื่อการสอนของแต่ละคนที่เป็นเกมการศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และตอบคำถามลงในกระดาษเกี่ยวกับเรื่องการนับ การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่ การแยกจำนวนจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่ และการเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า จากนั้นครูก็ดูวิธีในการสอนของแต่ละคน โดยแนะนำ อธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น

วันพุธ ที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560 (ครั้งที่ 12)




             เกมการศึกษา หมายถึง กิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก แต่เน้นทางสติปัญญา มีกฎกติกาง่ายๆ เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยและความสนุกสนานจากการเล่น มีกระบวนการในการเล่นจากสื่อตามชนิดของเกมประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน เด็กสามารถเล่นคนเดียวและเล่นเป็นกลุ่มได้ เกมการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัย 3-5ขวบ เช่น เกมจับคู่ แยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ วางภาพต่อปลาย (Domino) เกมศึกษารายละเอียดของภาพ (Lotto) ภาพตัดต่อ (Jig-saw puzzle) เป็นต้น



เกมภาพตัดต่อ




เกมจับคู่




เกมLotto


             และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งงานกันทำเกมการศึกษา จำนวนคนต่องาน คือ 1 คน , 2 คน , 3 คน แล้วแต่งานยากหรืองานง่าย



การประเมิน


-ตนเอง สนใจ ตั้งใจเรียน และสนใจกับเกมการศึกษาแปลกใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

-อาจารย์ อธิบายงานแต่ละอย่างได้อย่างละเอียด และมีรูปเกมการศึกษามาให้ดูเป็นตัวอย่างในการทำเกมการศึกษามากมาย

-สภาพแวดล้อม บรรยากาศเย็นสบาย เหมาะแก่การเรียน